วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 /
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง น้ำฟ้าและดวงดาว เวลา 10 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง น้ำค้างและลูกเห็บ เวลา 1 ชั่วโมง
โรงเรียนวัดเขาวัง ( แสง ช่วงสุวนิช ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 สอนโดย นางสาวพุ่มพวง สังข์วาลวงศ์ สอนเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2553

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่เกี่ยวข้อง
สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายการเกิดเมฆ ชนิดของเมฆ การเกิดหมอก น้ำค้าง และลูกเห็บ รวมทั้งผลของปรากฏการณ์เหล่านี้

สาระสำคัญ
น้ำค้างและลูกเห็บเป็นปรากฏการณ์ สมฟ้าอากาศที่เกิดจากธรรมชาติ

จุดประสงค์การเรียนรู้
สามารถอธิบายการเกิดน้ำค้างและลูกเห็บได้

สาระการเรียนรู้
- น้ำค้าง และลูกเห็บ

กระบวนการเรียนรู้
1. ครูนำภาพน้ำค้างที่เกาะอยู่ตามยอดหญ้า และลูกเห็บมาให้นักเรียนดู แล้วร่วมกัน
อภิปรายว่าน้ำค้าง และลูกเห็บ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
2. ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนฟังว่า น้ำค้าง คือ หยดน้ำ ที่เกิดจากความชื้นในอากาศ กลั่นตัวเป็นหยดน้ำ เพราะกระทบความเย็น เกาะตัวอยู่ตามยอดหญ้า ลูกเห็บคือ ก้อนน้ำแข็ง ที่เกิดจากฝนแล้วถูกลมพัดขึ้นไปบนท้องฟ้าซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำฝนกลายเป็นก้อนน้ำแข็งเล็กๆ ตกลงสู่พื้นดิน เหมือนกับฝน
3. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ทำการทดลองเรื่อง การเกิดลูกเห็บ โดยให้แต่ละกลุ่มใส่น้ำแข็งลงในกระป๋องนมจนเต็ม ตั้งทิ้งไว้ แล้วสังเกตด้านนอกกระป๋อง บันทึกผล และสรุปผลการทดลอง ในใบงานที่ 1 เรื่อง การเกิดลูกเห็บ แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
4. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับ การเกิดลูกเห็บ
กระบวนการวัดผลประเมินผล
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. สังเกตการทำงานกลุ่ม
3. การตรวจผลงาน
-แบบบันทึกผล

เครื่องมือประเมินผล
1. แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2. แบบประเมินการทำงานกลุ่ม
3. แบบประเมินผลงาน

เกณฑ์การประเมิน
1. สังเกตการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
2. การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
3. การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%

สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานที่ 1 เรื่อง การเกิดลูกเห็บ
2. ใบความรู้ เรื่อง น้ำค้าง ลูกเห็บ
3. รูปภาพ


บันทึกหลังสอน
......................................................................
........................................................................
.........................................................................
..........................................................................
..........................................................................
...........................................................................